แบบทดสอบครั้งที่2 ชุดที่1

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553



กฎหมาย คืออะไร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 กำหนดคำนิยามความหมายของคำว่า กฎหมาย ไว้ว่า กฎหมาย กฎ. น. กฎ ที่สถาบัน หรือ ผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐ ตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจาก จารีตประเพณี อันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อ ใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อ ใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐกฎหมายคืออะไรเป็นปัญหาที่ได้รับการถกเถียงกันมาตั้งแต่โบราณจวบจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เป็นที่ยุติ ทั้งนี้เพราะการให้ความหมายของคำว่า "กฎหมายแตกต่างไปตามแต่ว่าผู้ให้ความหมายนั้นมีแนวความคิดทางกฎหมายอย่างไร แต่ไม่ว่าสำนักความคิดใดหรือนักกฎหมายใดจะให้ความหมายของกฎหมายเป็นอย่างไรก็ตาม ก็เป็นที่ยอมรับตรงกันว่า กฎหมายสามารถจำแนกลักษณะได้ 4 ประการ"
1. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นเกณฑ์ 2. กฎหมายต้องกำหนดความประพฤติของบุคคล3. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ4. กฎหมายต้องมีกระบวนการบังคับที่เป็นกิจลักษณะ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
เดิมเรียกชื่อว่า "พระธรรมศาสตร์" (JURISPRUDENCE) มาจากคำว่า JURISPRUDENTIA ซึ่ง พระเจ้าจัสติเนียน (JUSTINIAN) ทรงบัญญัติขึ้นใช้เป็นครั้งแรก และประเทศอังกฤษได้นำเอาคำนี้มาใช้ทับศัพท์ว่า "JURISPRUDENCE" เสด็จในกรม กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระบิดาแห่งกฎหมายไทย) ซึ่งทรงสำเร็จ กฎหมายจากประเทศอังกฤษได้ทรงทำหลักวิชานี้มาสอนที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมเป็นครั้งแรก

กฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
ลักษณะสำคัญของกฎหมาย


กฎหมายปัจจุบันจำต้องมีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้จึงจะชื่อว่าเป็น "กฎหมาย"[37]
1. กฎหมายมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ กล่าวคือ ต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐาน ใช้วัดและกำหนดความประพฤติของสมาชิกในสังคมได้ว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือไม่ได้เป็นต้น

2. กฎหมายกำหนดความประพฤติของบุคคล กล่าวคือ กฎหมายควบคุมแต่ความประพฤติของบุคคลเท่านั้น มิได้ก้าวล่วงเข้าไปถึงจิตใจ จึงอาจกล่าวได้ว่าศาสนา ศีลธรรม และจารีตประเพณีควบคุมมนุษย์ได้ลึกซึ้งยิ่งกว่ากฎหมาย และกฎหมายนั้นหยาบกว่าสิ่งเช่นว่า ทั้งนี้ ความประพฤติที่จะถูกควบคุมมีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) มีการเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย และ 2) การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวเช่นนั้นอยู่ภายในความควบคุมของจิตใจ กล่าวอีกชั้นคือ บุคคลรู้ตัวว่าทำอะไรอยู่
3. กฎหมายมีสภาพบังคับ สภาพบังคับ (อังกฤษ: sanction) ของกฎหมายนั้นมีทั้งที่เป็นผลร้าย เช่น โทษทางอาญา และผลดีการประกอบกิจการ..."[38] เป็นต้น
4. กฎหมายมีกระบวนการอันเป็นกิจจะลักษณะ ในอดีต สำหรับการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายบางทีก็ใช้ระบบตาต่อตาฟันต่อฟัน แต่สังคมสมัยใหม่ซึ่งมีการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ กล่าวคือ รัฐออกกฎหมายและรัฐเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย รัฐสมัยใหม่จะไม่ยอมให้มีการบังคับใช้กฎหมายโดยประชาชนเลย เพราะจะทำให้คนที่แข็งแรงกว่ากระทำเกินเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น